ระบบ ASSIST คือ?
ลักษณะเด่นของระบบมีอะไรบ้าง?
- เชื่อมโยงกับระบบคลังข้อมูลการค้าของอาเซียน (ASEAN Trade Repository : ATR) และเครือข่ายของคลังข้อมูลทาง การค้าระดับประเทศซึ่งดูแลโดยประเทศสมาชิกอาเซียนที่มีข้อมูลทางการค้า
- เป็นพอร์ทัลเว็บที่เข้าถึงได้ง่าย เป็นมิตรกับผู้ใช้ และไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยผู้ประกอบการอาเซียนที่ประสบกับปัญหาทางการ ค้าจากการส่งออกสินค้าหรือบริการ หรือเมื่อลงทุนในประเทศอาเซียน
- เป็นระบบติดตามและมีหน้าจอแสดงผลผ่านสัญญาณไฟที่อนุญาตให้กลไกหลักด าเนินการตามขั้นตอนออนไลน์ และ
- ช่วยให้ผู้ประกอบการอาเซียนยื่นข้อร้องเรียนแบบไม่ระบุตัวตนผ่านสมาคมการค้าของอาเซียน หรือองค์กรผู้แทนทาง การค้า เช่น หอการค้า สภาธุรกิจการค้า สมาพันธ์ธุรกิจ หรือทนายความหรือส านักงานกฎหมายที่จดทะเบียนในอาเซียน เมื่อผู้ ร้องเรียนประสงค์ที่จะร้องเรียนแบบไม่ระบุตัวตน
- เป็นพื้นที่สาธารณะที่ข้อมูลเกี่ยวกับประเภทและจ านวนของค าร้อง กรณีศึกษาของประเด็นที่ยุติ และความเห็นของ ผู้ประกอบการอาเซียนจะได้ตีพิมพ์และเผยแพร่ (ภายใต้การประเมินผล)
ระบบเกี่ยวข้องกับใครบ้าง?
- ผู้ประกอบการอาเซียน (AE): ผู้ประกอบการอาเซียน (หรือ สมาคมอาเซียน หอการค้า สภาธุรกิจการค้า สมาพันธ์ธุรกิจ หรือทนายความหรือส านักงานกฎหมายที่จดทะเบียนในอาเซียน) ที่หยิบยกประเด็น สอบถาม หรือร้องเรียนในระบบ ASSIST โดยผู้ประกอบการอาเซียนจะต้องลงทะเบียน (เช่น ใบอนุญาตลงทะเบียนทางธุรกิจ) ในประเทศสมาชิกของอาเซียนทั้งสิบ ประเทศ
- ผู้ประสานงานกลาง (CA): เลขาธิการอาเซียนคือ ผู้ประสานงานกลางของระบบ ASSIST และบริหารจัดการขั้นตอน ออนไลน์ภายใต้อ านาจหน้าที่นั้น การติดต่อทั้งหมดกับกลไกหลักอื่นๆ จะต้องติดต่อผ่านผู้ประสานงานกลาง
- หน่วยงานประสานในประเทศต้นทาง (HCP): องค์กรในระดับประเทศ (เช่น หน่วยงานหลักแห่งชาติ) ในประเทศสมาชิก ของอาเซียนของผู้ประกอบการอาเซียนที่ได้ร้องเรียน (หรือที่ที่บริษัทส านักงานใหญ่ตั้งอยู่ในกรณีการค้าและการบริการนั้นๆ) ใน กรณีที่จ าเป็น กระทรวง หน่วยงาน หรือองค์กรของประเทศอาจแทรกแซงเพื่อเข้ามาเจรจากับผู้ประสานงานกลาง และ/หรือ หน่วยงานประสานในประเทศปลายทาง
- หน่วยงานประสานในประเทศปลายทาง (DCP): องค์กรในระดับประเทศ (เช่น หน่วยงานหลักแห่งชาติ) ในประเทศ สมาชิกอาเซียนที่ประเด็นถูกหยิบยกและของผู้ประกอบการอาเซียนก าลังประสบกับปัญหาทางการค้า กระทรวง หน่วยงาน หรือ องค์กรของประเทศจะตัดสินใจว่าจะเข้าร่วมกับระบบ ASSIST เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาให้กับผู้ประกอบการอาเซียนหรือไม่ จะเข้าร่วมกับหน่วยงานในประเทศที่มีอ านาจหรือไม่ และจะด าเนินการติดต่อสื่อสารกับผู้ประสานงานกลางในระบบ ASSIST หรือไม่ และ
- หน่ วยงานรบ ั ผิดชอบ (RAs): หน่วยงาน หรือผู้แทนประเทศบาลต่างๆ ที่มีภารกิจในการหาแนวทางแก้ไขปัญหา หน่วยงานรับผิดชอบเหล่านี้เป็นหน่วยงานที่มีอ านาจหน้าทีในประเทศสมาชิกอาเซียนที่ได้มีการหยิบยกประเด็นปัญหา และที่ที่ ผู้ประกอบการอาเซียนก าลังประสบกับปัญหาทางการค้า ทั้งนี้ หน่วยงานรับผิดชอบจะน าเสนอแนวทางที่เป็นไปได้แก่ ผู้ประกอบการอาเซียนผ่านหน่วยงานประสานในประเทศปลายทาง และผู้ประสานงานกลาง
ระบบ ASSIST ทำงานอย่างไร?
ระบบ ASSIST นั้นง่ายและไม่ยุ่งยากซึ่งดำเนินการผ่านระบบออนไลน์เป็นหลัก:
- ผู้ประกอบการอาเซียน (สมาคมอาเซียน หอการค้า สภาธุรกิจการค้า สมาพันธ์ธุรกิจ หรือทนายความหรือสำนักงานกฎหมายที่จดทะเบียนและเป็นตัวแทนในนามของผู้ประกอบการอาเซียน ในกรณีที่ไม่ประสงค์จะเปิดเผยตัวตน) เป็นผู้ยื่นข้อร้องเรียนในเว็บไซต์ของระบบ ASSIST
- หากผู้ยื่นข้อร้องเรียนประสงค์ที่จะร้องเรียนแบบไม่ระบุตัวตน การส่งข้อร้องเรียนออนไลน์อาจจะกระทำในนามของสมาคมการค้าอาเซียน หรือองค์กรผู้แทนอื่นๆ ที่ผู้ร้องเรียนเป็นผู้เลือก เช่น หอการค้า สภาธุรกิจการค้า สมาพันธ์ธุรกิจ หรือทนายความหรือสำนักงานกฎหมายที่จดทะเบียนก็ได้) ในกรณีเช่นว่านี้ ข้อร้องเรียนจะถูกยื่นโดยใช้หมายเลขจดทะเบียนขององค์กรผู้แทนโดยที่ไม่จำเป็นต้องมีข้อมูลของผู้ประกอบการอาเซียนเปิดเผยต่อหน่วยงานประสานในประเทศต้นทาง และ/หรือ หน่วยงานประสานในประเทศปลายทาง ในกรณีที่ข้อร้องเรียนในยื่นในนามของลูกความของทนายความหรือสำนักงานกฎหมายที่จดทะเบียน ให้ใช้เงื่อนไขพิเศษ
- ในกรณีที่จำเป็น ผู้ประสานงานกลางจะทบทวนข้อร้องเรียนและอาจจะส่งคืนไปยังผู้ประกอบการอาเซียน (หรือองค์กรผู้แทนในกรณีของการร้องเรียนแบบไม่ระบุตัวตน) เพื่อให้แก้ไขและส่งมาใหม่ก็ได้
- เมื่อผู้ประสานงานกลางยอมรับข้อร้องเรียนแล้ว ให้หน่วยงานประสานในประเทศปลายทางทบทวนข้อร้องเรียนและอาจจะปฏิเสธข้อร้องเรียนก็ได้ หากเห็นว่าระบบ ASSIST ไม่ใช่กลไกที่เหมาะสมในการปรึกษาหารือหรือหน่วยงานประสานในประเทศปลายทางไม่ประสงค์ที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยเหตุผลอื่นๆ ในกรณีเช่นว่านั้น ให้หน่วยงานประสานในประเทศปลายทางจะต้องชี้แจงพร้อมแสดงเหตุผล
- หากหน่วยงานประสานในประเทศปลายทางยอมรับข้อร้องเรียน ให้หน่วยงานรับผิดชอบในประเทศนั้นหาแนวทางเพื่อยุติปัญหา
- เมื่อได้มีข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาแล้ว ให้ผู้ประสานงานกลางเป็นผู้แจ้งต่อผู้ร้องเรียน (เช่น ผู้ประกอบการอาเซียนหรือองค์กรผู้แทน ในกรณีของการร้องเรียนแบบไม่ระบุตัวตน) และหน่วยงานประสานในประเทศต้นทาง และ
- ผู้ประกอบการอาเซียน (หรือองค์กรผู้แทน ในกรณีของการร้องเรียนแบบไม่ระบุตัวตน) อาจจะยอมรับหรือจะปฏิเสธข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหา และหาแนวทางอื่นในการระงับข้อพิพาทนั้นก็ได้
ผู้ประกอบการอาเซียนจะได้รับข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาผ่านระบบ ASSIST ในระยะเวลาไม่เกิน 20-50 วันทำการนับจากวันที่ได้รับข้อร้องเรียนโดยหน่วยงานประสานในประเทศปลายทาง ข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาทั้งหมดจะต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับเจตจำนงค์ของอาเซียน ตลอดจนกฎและระเบียบของประเทศสมาชิกอาเซียนที่มีอยู่และใช้บังคับ
หากผู้ประกอบการอาเซียนได้ยื่นข้อร้องเรียน (หรือองค์กรผู้แทน ในกรณีของการร้องเรียนแบบไม่ระบุตัวตน) แล้วไม่พอใจกับผลลัพธ์ สามารถที่จะส่งข้อร้องเรียนไปยังองค์กรระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสเพื่อติดตามการดำเนินงานตามพันธกรณีความตกลงของอาเซียน หรือกลไกระงับข้อพิพาทของอาเซียนผ่านหน่วยงานการจดทะเบียนธุรกิจของประเทศสมาชิกอาเซียนก็ได้
โดยปกติแล้ว ผู้ประกอบการอาเซียน (หรือองค์กรผู้แทน ในกรณีของการร้องเรียนแบบไม่ระบุตัวตน) อาจจะตัดสินใจที่จะระงับข้อพิพาททางศาลหรือกลไกระงับข้อพิพาทอื่นๆ ในประเทศ (เช่น การไกล่เกลี่ย การประณีประนอม หรือการอนุญาโตตุลาการ) ภายในเขตอำนาจของประเทศสมาชิกอาเซียนก็ได้
ข้อมูลที่ให้ผ่านผู้ร้องเรียนจะต้องถูกนำมาใช้ในระบบ ASSIST และโดยกลไกที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนในระบบ ASSIST เท่านั้น ขั้นตอนที่เหมาะสมจะได้ดำเนินการอย่างระมัดระวังโดยพิจารณาถึงความลับทางการค้าและข้อมูลส่วนบุคคลตลอดเวลา โดยเฉพาะเมื่อต้องส่งต่อข้อมูลระหว่างเครือข่าย