คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับระบบ ASSIST
1.2 ทำไมระบบ ASSIST ถึงมีขึ้นมาใช้กับเฉพาะกรณีข้อร้องเรียนที่เกี่ยวกับการค้าสินค้าและบริการข้ามพรมแดนระหว่างอาเซียนเท่านั้น? เมื่อใดที่ระบบนี้จะขยายไปถึงกรณีการลงทุน?
1.3 คำกล่าวที่ว่า “ระบบ ASSIST เป็นระบบที่ไม่ผูกพัน” หมายความว่าอย่างไร?
1.4. ทำไมระบบ ASSIST ถึงมีคุณลักษณะเชิงปรึกษาหารือ?
1.5. ข้อมูลอะไรบ้างที่จะปรากฎอยู่ในเพจของเว็บไซต์ระบบ ASSIST?
1.6. ผู้ร้องเรียนจะเป็นความลับหรือไม่ ใครสามารถดูข้อมูลร้องเรียนของผู้ร้องเรียนบ้าง หรือว่ารัฐบาลประเทศอาเซียนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาดังกล่าวสามารถดูได้?
1.7. ข้อมูลสามารถที่จะแลกเปลี่ยนกันในระบบ ASSIST ภายหลังเพื่อใช้ในศาลในการพิจารณาคดีในประเทศหรือการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศ (เช่น องค์การการค้าโลก และ/หรือ อาเซียน) ได้หรือไม่?
2.2 ระบบ ASSIST สามารถนำมาใช้เพื่อยื่นข้อร้องเรียนที่พิพาทกับประเทศบาลในประเทศนอกกลุ่มอาเซียน (เช่น ออสเตรเลีย จีน สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น เกาหลี สหรัฐอเมริกา ฯลฯ) ได้หรือไม่?2.3 ผู้ร้องเรียนสามารถยื่นข้อร้องเรียนที่เกี่ยวกับมาตรการที่ได้มีการพิจารณาอยู่แล้วในชั้นศาลในประเทศ หรือได้กำลังพิจารณาผ่านการอนุญาโตตุลาการ หรือได้ดำเนินการโดยประเทศบาลผ่านกลไกองค์การการค้าโลกหรืออาเซียนภายใต้กลไกระงับข้อพิพาทตามลำดับได้หรือไม่?
3.3. หากผู้ร้องเรียนเป็นผู้ประกอบการขนาดย่อม ขนาดเล็ก หรือขนาดกลาง แนวทางที่ดีที่สุดสำหรับกลุ่มนี้ในการยื่นข้อร้องเรียนในระบบ ASSIST คืออะไร?
3.4. ผู้ร้องเรียนจะมั่นใจได้อย่างไรว่าประเด็นที่กระทบกับกิจกรรมทางธุรกิจของตนจะอยู่ภายใต้ขอบเขตของระบบ ASSIST?
3.5. ก่อนที่จะยื่นข้อร้องเรียนในระบบ ASSIST ทำไมการทำรูปคดีที่ตรวจสอบได้/ เป็นที่โต้เถียงได้ถึงมีความสำคัญ?
4.2. ผู้ร้องเรียนจำเป็นต้องยื่นแบบฟอร์มข้อร้องเรียนออนไลน์และลงทะเบียนในแต่ละครั้งที่ตนประสงค์จะยื่นข้อร้องเรียน หรือผู้ร้องเรียนสามารถยื่นข้อร้องเรียนหลายคราวด้วยแบบฟอร์มเดียวได้หรือไม่?
4.3. ผู้ร้องเรียนจำเป็นต้องลงทะเบียนเป็นผู้ประกอบการอาเซียนที่หน่วยงานจดทะเบียนกลางหรือไม่?
4.4. คำกล่าวที่ว่า “การเป็นผู้ประกอบการอาเซียน (เช่น บริษัทหรือสมาคมการค้า) ที่จดทะเบียนตามกฎหมายของ 1 ในประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ” หมายความว่าอย่างไร?
4.5. หากผู้ร้องเรียนเป็นสำนักงานที่จดทะเบียนในอาเซียน (เช่น สำนักงานสาขาย่อย สำนักงานสาขา สำนักงานตัวแทน โรงงาน ศูนย์ตัวแทนจัดจำหน่าย ฯลฯ) หรือเป็นบรรษัทข้ามพรมแดนจากประเทศนอกกลุ่มอาเซียน สามารถที่จะยื่นข้อร้องเรียนโดยที่สำนักงานใหญ่นั้นตั้งอยู่ในประเทศนอกกลุ่มอาเซียนได้หรือไม่?
4.6. ข้อร้องเรียนสามารถยื่นโดยที่ปรึกษา ทนายความหรือผู้ให้คำแนะนำอันเป็นผู้แทนของผู้ประกอบการอาเซียนได้หรือไม่? หากกระทำได้ หมายเลขจดทะเบียนทางธุรกิจและหลักฐานการจดทะเบียนอะไรบ้างที่จำเป็นต้องใช้?
4.7. ปักเจกบุคคลสามารถยื่นข้อร้องเรียนไปยังระบบ ASSIST ได้หรือไม่?
4.8. ผู้ร้องเรียนสามารถร้องเรียนแบบไม่ระบุตัวตนโดยไม่ต้องใช้ชื่อของบริษัทได้หรือไม่? หากกระทำได้ แนวทางนั้นต้องทำอย่างไร?
4.9. ทำไมและเมื่อใดที่ผู้ร้องเรียนหรือผู้ร้องเรียนหลายรายควรที่จะยื่นข้อร้องเรียนผ่านสมาคมการค้าอาเซียน หรือหอการค้า หรือสภาธุรกิจ หรือสมาพันธ์ทางธุรกิจที่จดทะเบียนตามกฎหมาย?
4.10. ผู้ร้องเรียนสามารถอัพโหลดเอกสาร (เช่น กฎหมายหมาย การโต้ตอบกับหน่วยงาน ใบอนุญาต หลักฐานทางภาพถ่าย เอกสารบันทึกทางกฎหมาย ฯลฯ) เมื่อต้องยื่นข้อร้องเรียนได้หรือไม่?
4.11. ร่างข้อร้องเรียนสามารถถูกบันทึกไว้ในระบบ ASSIST (เช่น แบบฟอร์มร้องเรียนออนไลน์) เพื่อดำเนินต่อให้แล้วเสร็จในภายหลังได้หรือไม่?
4.12. ข้อร้องเรียนเดียวสามารถที่จะร้องเรียนประเทศสมาชิกอาเซียนหลายรายหากว่าเป็นประเด็นปัญหาการค้าแบบเดียวกันซึ่งประสบอยู่ในหลายๆ ประเทศได้หรือไม่?
4.13. ผู้ร้องเรียนจำเป็นต้องส่งสำเนาข้อร้องเรียนไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ในระบบ ASSIST หรือไม่?
4.14. ข้อร้องเรียนที่ถูกยื่นสามารถทำเป็นภาษาอื่นๆ นอกเหนือจากภาษาอังกฤษได้หรือไม่? หากกระทำไม่ได้ เช่นนั้นข้อมูลสนับสนุนเชิงข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย (เช่น หลักฐานการจดทะเบียนบริษัทหรือสำเนากฎหมายในประเทศ) สามารถนำส่งเป็นภาษาของผู้ร้องเรียนหรือประเทศที่กำลังประสบกับปัญหาทางการค้าได้หรือไม่?
5.2. จะเกิดอะไรขึ้นกับข้อร้องเรียนหากถูกปฏิเสธโดยผู้ประสานงานกลางหรือหน่วยงานประสานในประเทศปลายทาง?
5.3. ผู้ประสานงานกลางหรือหน่วยงานประสานในประเทศปลายทางสามารถเรียกให้ส่งข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้ร้องเรียน (ผู้ประกอบการอาเซียน) ได้หรือไม่?
5.4. ผู้ร้องเรียนสามารถที่จะสมัครใจส่งข้อมูลเพิ่มเติมภายหลังที่ได้ยื่นข้อร้องเรียนไปแล้วได้หรือไม่? หากกระทำได้ จะต้องดำเนินการอย่างไร?
5.5. ข้อร้องเรียนสามารถเพิกถอนเมื่อยื่นไปแล้วได้หรือไม่? หากกระทำได้ จะต้องดำเนินการอย่างไร?
5.6 ผู้ประกอบการอาเซียนติดต่อโดยตรงกับหน่วยงานประสานในประเทศปลายทางหรือหน่วยงานรับผิดชอบ?
5.7 หน่วยงานประสานในประเทศปลายทางสามารถขอขยายระยะเวลาออกไปไม่เกิน 20 วันได้บ่อยแค่ไหน?
5.8 ผู้ร้องเรียนควรทำอย่างไรหากไม่ได้รับการติดต่อจากระบบ ASSIST ภายใน 30-50 วันทำการ (เช่น 6-10 สัปดาห์ปฏิทิน) นับจากวันที่หน่วยงานประสานในประเทศปลายทางรับข้อร้องเรียนไว้พิจารณา?
6.2 ผู้ร้องเรียนสามารถทำอะไรได้บ้างหากไม่พอใจกับแนวทางแก้ไขปัญหาจากข้อร้องเรียน?
6.3. ผู้ร้องเรียนสามารถอุทธรณ์ในประเด็นที่ไม่ได้รับแนวทางแก้ไขปัญหาหรือไม่พอใจกับแนวทางแก้ไขปัญหาจากข้อร้องเรียนได้หรือไม่?6.4. ผู้ร้องเรียนสามารถยื่นข้อร้องเรียนเดิมอีกครั้งได้หรือไม่หากไม่ได้รับแนวทางแก้ไขปัญหาไม่พอใจกับแนวทางแก้ไขปัญหาจากข้อร้องเรียน?
1. คำถามทั่วไปเกี่ยวกับระบบ ASSIST
1.1 มีการคิดค่าใช้จ่ายหรือค่าธรรมเนียมสำหรับการใช้บริการระบบ ASSIST หรือไม่?
ระบบ ASSIST ไม่มีการคิดค่าใช้จ่าย ไม่คิดค่าธรรมเนียม ไม่มีการลงทะเบียน หรือค่าใช้จ่ายในการยื่นข้อร้องเรียนแต่อย่างใด
1.2 ทำไมระบบ ASSIST ถึงมีขึ้นมาใช้กับเฉพาะกรณีข้อร้องเรียนที่เกี่ยวกับการค้าสินค้าและบริการข้ามพรมแดนระหว่างอาเซียนเท่านั้น? เมื่อใดที่ระบบนี้จะขยายไปถึงกรณีการลงทุน?
ระบบ ASSIST มีขึ้นสำหรับข้อพิพาทที่เกี่ยวกับการค้าสินค้าตั้งแต่เดือนสิงหาคม ค.ศ. 2016 และได้เพิ่มข้อพิพาทที่เกี่ยวกับการค้าบริการข้ามพรมแดนระหว่างอาเซียนเมื่อ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2019 และระบบ ASSIST น่าจะได้ขยายไปยังข้อพิพาทที่เกี่ยวกับการลงทุนต่อไปในปีค.ศ. 2020
1.3 คำกล่าวที่ว่า “ระบบ ASSIST เป็นระบบที่ไม่ผูกพัน” หมายความว่าอย่างไร?
ไม่ผูกพันหมายความว่าประเทศสมาชิกอาเซียนอาจจะไม่ยอรับข้อร้องเรียนหรือเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาเมื่อได้มีการยื่นข้อร้องเรียนในระบบ ASSIST ก็ได้ แม้ว่าระบบ ASSIST จะไม่ผูกพัน แต่ประเทศสมาชิกอาเซียนจะต้องพยายามอย่างเต็มที่ที่สุดที่จะมีส่วนร่วมในการแก้ไขข้อร้องเรียนนั้นๆ
1.4. ทำไมระบบ ASSIST ถึงมีคุณลักษณะเชิงปรึกษาหารือ?
ระบบ ASSIST ไม่ใช่ระบบของศาลที่ต้องไต่สวนต่อหน้าศาลในประเทศหรือระหว่างประเทศ และไม่ได้ดำเนินการและตัดสินโดยผู้พิพากษา อนุญาโตตุลาการ ผู้ไกล่เกลี่ย คณะผู้เชี่ยวชาญ หรือองค์กรตัดสินภายนอกที่เป็นเอกเทศแต่อย่างใด ระบบ ASSIST เป็นเพียงพื้นที่การปรึกษาหารือโดยตรง ระหว่างผู้ประกอบการอาเซียน (บริษัทหรือสมาคมการค้า/ หอการค้า) และประเทศบาลอาเซียน
1.5. ข้อมูลอะไรบ้างที่จะปรากฎอยู่ในเพจของเว็บไซต์ระบบ ASSIST?
เมื่อเวลาผ่านไป ข้อมูลจากระบบจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการอาเซียนที่กำลังมองหาแนวทางแก้ไขปัญหาทางธุรกิจในภูมิภาคนี้ ข้อมูลจะรวมทั้งเรื่องที่ประสบความสำเร็จ กรณีศึกษาและแนวทางชี้แนะเพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าใจความตกลงอาเซียนได้ดียิ่งขึ้น พื้นที่ดังกล่าวจะสนับสนุนให้ผู้ประกอบการแบ่งปันประสบการณ์ของตนและบทเรียนที่เป็นประโยชน์ในการแสวงหาทางออกในอาเซียน ไม่มีข้อมูลลับใดๆ ที่จะนำมาเผยแพร่บนพื้นที่นี้
1.6. ผู้ร้องเรียนจะเป็นความลับหรือไม่ ใครสามารถดูข้อมูลร้องเรียนของผู้ร้องเรียนบ้าง หรือว่ารัฐบาลประเทศอาเซียนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาดังกล่าวสามารถดูได้?
การรักษาความลับเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดและเฉพาะผู้ร้องเรียน ประเทศสมาชิกอาเซียนที่เกี่ยวข้องโดยตรง และเลขาธิการอาเซียนเท่านั้นที่จะมีสิทธิเข้าถึงข้อร้องเรียนและแนวทางแก้ไขปัญหาที่เสนอแนะไป (โปรดดูข้อสงวนความรับผิดในเว็บไซต์ของระบบ ASSIST)
1.7. ข้อมูลสามารถที่จะแลกเปลี่ยนกันในระบบ ASSIST ภายหลังเพื่อใช้ในศาลในการพิจารณาคดีในประเทศหรือการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศ (เช่น องค์การการค้าโลก และ/หรือ อาเซียน) ได้หรือไม่?ไม่ได้ ทั้งนี้ ข้อสงวนสิทธิ์ของระบบ ASSIST (โปรดดูลิงค์ในเชิงอรรถของเว็บเพจของระบบ ASSIST ทั้งหมด) ซึ่งเขียนเอาไว้อย่างชัดเจนว่าข้อมูลหรือคำแถลงใดๆ ที่กระทำโดยผู้ร้องเรียนหรือโดยประเทศสมาชิกอาเซียนภายในขั้นตอนของระบบ ASSIST จะถูกนำไปใช้ในการพิจารณาคดีของศาลในประเทศและระหว่างประเทศไม่ได้ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะใช้บังคับในศาลไม่ได้ แต่ข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาอาจเป็นประโยชน์ต่อบริบทอื่นๆ ที่คล้ายๆ กันซึ่งเกิดขึ้นก่อนที่หน่วยงานจะมีแนวทางแก้ไขเอาไว้ (เช่น เจ้าหน้าที่ศุลกากร เจ้าหน้าที่การค้า หน่วยงานที่ออกใบอนุญาตการนำเข้า หน่วยงานตรวจสอบและรับรอง ฯลฯ)
2. ขอบเขตของระบบ ASSIST
2.1 ผู้ประกอบการอาเซียนสามารถยื่นข้อร้องเรียนที่พิพาทกับประเทศบาลในประเทศของตนเองได้หรือไม่?
ไม่ได้ ระบบ ASSIST เกี่ยวข้องกับประเด็นการค้าข้ามพรมแดนระหว่างผู้ประกอบการอาเซียนที่จดทะเบียนตามกฎหมายของ 1 ในประเทศสมาชิกอาเซียนซึ่งพิพาทกับประเทศบาลของ1 ใน 9 ประเทศสมาชิกอาเซียนเท่านั้น ในทางกลับกัน สำหรับประเด็นในประเทศนั้น ประเทศต้นทางของผู้ประกอบการอาเซียนจะไม่สามารถยื่นข้อร้องเรียนในระบบ ASSIST ได้ ในกรณีที่ผู้ให้บริการเป็นส่วนหนึ่งของสำนักงานใหญ่ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศสมาชิกอาเซียน A และให้บริการอยู่ในประเทศสมาชิกอาเซียน B ประสงค์ที่จะยื่นข้อร้องเรียนต่อประเทศสมาชิกอาเซียน B เช่นนั้น สำนักงานใหญ่ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศสมาชิกอาเซียน A ควรที่จะเป็นผู้ยื่นข้อร้องเรียนเข้ามาในระบบ ASSIST ทั้งนี้ ข้อร้องเรียนนั้นสามารถยื่นแบบไม่ระบุตัวตนผ่านสมาคมการค้าอาเซียน หอการค้า สภาธุรกิจ สมาพันธ์ทางธุรกิจ ทนายความหรือสำนักงานกฎหมายที่จดทะเบียนที่เป็นตัวแทนของผู้ร้องเรียนก็ได้
2.2 ระบบ ASSIST สามารถนำมาใช้เพื่อยื่นข้อร้องเรียนที่พิพาทกับประเทศบาลในประเทศนอกกลุ่มอาเซียน (เช่น ออสเตรเลีย จีน สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น เกาหลี สหรัฐอเมริกา ฯลฯ) ได้หรือไม่?
ไม่ได้ ระบบ ASSIST เกี่ยวข้องกับประเด็นการค้าข้ามพรมแดนระหว่างผู้ประกอบการอาเซียนที่จดทะเบียนตามกฎหมายของ 1 ในประเทศสมาชิกอาเซียนกับประเทศบาลของ1 ใน 9 ประเทศสมาชิกอาเซียนเท่านั้น
2.3 ผู้ร้องเรียนสามารถยื่นข้อร้องเรียนที่เกี่ยวกับมาตรการที่ได้มีการพิจารณาอยู่แล้วในชั้นศาลในประเทศ หรือได้กำลังพิจารณาผ่านการอนุญาโตตุลาการ หรือได้ดำเนินการโดยประเทศบาลผ่านกลไกองค์การการค้าโลกหรืออาเซียนภายใต้กลไกระงับข้อพิพาทตามลำดับได้หรือไม่?ไม่ได้ หากข้อร้องเรียนไม่ได้ยื่นภายใต้พฤติการณ์ข้างต้น เลขาธิการอาเซียนหรือประเทศปลายทางอาจจะปฏิเสธข้อร้องเรียนว่าเป็นการยื่นที่ไม่สมบูรณ์ก็เป็นได้
3. ก่อนยื่นข้อร้องเรียน
3.1 จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องได้รับอนุญาตหรือการสนับสนุนจากประเทศบาลในประเทศที่ผู้ร้องเรียนได้จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายก่อนที่จะยื่นข้อร้องเรียนในระบบ ASSIST?
ไม่จำเป็น ระบบ ASSIST เป็นการติดต่อโดยตรงซึ่งใช้โดยผู้ประกอบการอาเซียน และไม่จำเป็นต้องขออนุญาตจากประเทศบาลต้นทาง แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ร้องเรียนก็ควรที่จะแสวงหาความเห็นและการสนับสนุนที่เป็นไปได้จากประเทศบาลต้นทางก่อนที่จะได้มีการยื่นข้อร้องเรียนผ่านระบบ ASSIST
3.2. หากผู้ร้องเรียนไม่ได้เข้าใจอย่างชัดแจ้งเกี่ยวกับความตกลงอาเซียนที่เกี่ยวข้องหรือต้องการได้รับคำแนะนำก่อนที่จะยื่นข้อร้องเรียน จะมีหนทางอะไรบ้างที่จะให้คำแนะนำและให้คำชี้แนะนี้ได้?
ผู้ร้องเรียนอาจจะแสวงหาความเห็นและการสนับสนุนที่เป็นไปได้จากประเทศบาลต้นทางก่อนที่จะได้มีการยื่นข้อร้องเรียนผ่านระบบ ASSIST อีกทั้งยังสามารถขอคำชี้แนะและความช่วยเหลือจากที่ปรึกษา ทนายความ สำนักงานกฎหมาย หอการค้า สภาธุรกิจ สมาพันธ์ทางธุรกิจ สมาคมการค้า หรือแม้กระทั่งนักวิชาการที่เป็นเอกเทศก็ได้ ผู้ร้องเรียนสมควรอย่างยิ่งที่จะได้รับคำชี้แนะและการสนับสนุนจากกลุ่มข้างต้นเมื่อผู้ร้องเรียนเป็นผู้ประกอบการที่มีข้อจำกัดเชิงเทคนิคในแง่ที่เกี่ยวกับความเข้าใจประเด็นของอาเซียนหรือความยากลำบากในการติดต่อสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษ
3.3. หากผู้ร้องเรียนเป็นผู้ประกอบการขนาดย่อม ขนาดเล็ก หรือขนาดกลาง แนวทางที่ดีที่สุดสำหรับกลุ่มนี้ในการยื่นข้อร้องเรียนในระบบ ASSIST คืออะไร?
ผู้ร้องเรียนสามารถได้รับคำชี้แนะและการสนับสนุนจากที่ปรึกษา ทนายความ สำนักงานกฎหมาย หอการค้า สภาธุรกิจ สมาพันธ์ทางธุรกิจ สมาคมการค้า หรือแม้กระทั่งนักวิชาการที่เป็นเอกเทศ หรือจะแสวงหาความเห็นและการสนับสนุนที่เป็นไปได้จากประเทศบาลต้นทางก่อนที่จะได้มีการยื่นข้อร้องเรียนผ่านระบบ ASSIST ก็ได้.
3.4. ผู้ร้องเรียนจะมั่นใจได้อย่างไรว่าประเด็นที่กระทบกับกิจกรรมทางธุรกิจของตนจะอยู่ภายใต้ขอบเขตของระบบ ASSIST?
ของเขตของระบบ ASSIST ได้มีการนำเสนอไว้แล้วในเว็บไซต์ ข้อร้องเรียนอาจจะถูกปฏิเสธหากเข้าเกณฑ์อย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้:
ประเด็นนั้นไม่ได้ครอบคลุมหรือตราเป็นกฎระเบียบโดยความตกลงทางการค้าของอาเซียน
ประเด็นนั้นอยู่นอกเหนือการค้าระหว่างอาเซียน
ประเด็นนั้นเป็นข้อพิพาทระหว่างธุรกิจด้วยกันเท่านั้น
ประเด็นนั้นไม่มีข้อมูลสนับสนุนที่เพียงพอและน่าเชื่อถือ
ประเด็นนั้นตกอยู่ภายใต้การทบทวน และ/หรือ การพิจารณาคดีของศาลหรือเจ้าหน้าที่ทางกฎหมาย และ
ประเด็นนั้นเป็นการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการค้า ซึ่งของเขตของระบบ ASSIST ยังไปไม่ถึง
ดังนั้น ผู้ร้องเรียนควรจะต้องทำการศึกษาให้ถี่ถ้วนเสียก่อนเกี่ยวกับข้อมูลที่เว็บไซต์ของระบบ ASSIST ได้ให้เอาไว้ และ/หรือ แสวงหาคำชี้แนะและการสนับสนุนจากประเทศบาลต้นทาง หรือจากที่ปรึกษา ทนายความ สำนักงานกฎหมาย หอการค้า สภาธุรกิจ สมาพันธ์ทางธุรกิจ และสมาคมการค้าที่เป็นเอกเทศเสียก่อน
3.5. ก่อนที่จะยื่นข้อร้องเรียนในระบบ ASSIST ทำไมการทำรูปคดีที่ตรวจสอบได้/ เป็นที่โต้เถียงได้ถึงมีความสำคัญ?ประเด็นนี้นับว่ามีความสำคัญเพราะรูปคดีจะถูกตรวจสอบโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบ ASSIST มาตรการหรือแนวปฏิบัติจะถูกทบทวน หรือปัญหาที่ผู้ร้องเรียนต้องเผชิญจะถูกนำเสนออย่างชัดแจ้ง ดังนั้นผู้ร้องเรียนจึงสมควรที่จะต้องมีเอกสารที่สนับสนุนไว้เป็นอย่างดี
ผู้ร้องเรียนอาจจะพิจารณาเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาที่เป็นไปได้เพื่ออำนวยความสะดวกในกระบวนการขั้นตอน ข้อร้องเรียนที่มีข้อมูลและเอกสารที่ครบถ้วนโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาทางออกจะมีโอกาสที่จะได้รับการพิจารณาโดยประเทศปลายทางสูงกว่า
4. การยื่นข้อร้องเรียน
4.1 ผู้ร้องเรียนจำเป็นต้องจดทะเบียนมาก่อนหรือไม่เพื่อแสดงว่าบริษัทของตนเป็นผู้ประกอบการในอาเซียนหรือสมาคมการค้า หรือเป็นการจดทะเบียนโดยอัตโนมัติเมื่อยื่นข้อร้องเรียน?
ไม่มีกระบวนการจดทะเบียนก่อน ผู้ร้องเรียนจะต้องให้หมายเลขจดทะเบียนธุรกิจและหลักฐานการจดทะเบียนซึ่งกำหนดไว้แล้วอยู่ในแบบฟอร์มในเว็บไซต์ของระบบ ASSIST ทนายความและสำนักงานกฎหมายที่ยื่นข้อร้องเรียนในนามของลูกความ (กรณีร้องเรียนแบบไม่ระบุตัวตน) จะต้องจดทะเบียนกับเลขาธิการอาเซียนและยื่นแบบฟอร์มเพื่อให้ได้รับรหัสเรื่องร้องเรียนที่เป็นความลับ (Confidential Case Code: CCC) จากเลขาธิการอาเซียน
4.2. ผู้ร้องเรียนจำเป็นต้องยื่นแบบฟอร์มข้อร้องเรียนออนไลน์และลงทะเบียนในแต่ละครั้งที่ตนประสงค์จะยื่นข้อร้องเรียน หรือผู้ร้องเรียนสามารถยื่นข้อร้องเรียนหลายคราวด้วยแบบฟอร์มเดียวได้หรือไม่?
ผู้ร้องเรียนจะต้องกรอกแบบฟอร์มออนไลน์ในแต่ละครั้งที่ผู้ประกอบการ (หรือองค์กรผู้แทนที่เป็นตัวแทนกรณีร้องเรียนแบบไม่ระบุตัวตน) ยื่นข้อร้องเรียนใหม่โดยกรอกข้อมูลที่จำเป็นต้องกรอกให้สมบูรณ์
4.3. ผู้ร้องเรียนจำเป็นต้องลงทะเบียนเป็นผู้ประกอบการอาเซียนที่หน่วยงานจดทะเบียนกลางหรือไม่?
ไม่จำเป็น เพราะไม่มีหน่วยงานจดทะเบียนกลาง เฉพาะทนายความและสำนักงานกฎหมายที่ยื่นข้อร้องเรียนในนามของลูกความ (กรณีร้องเรียนแบบไม่ระบุตัวตน) จะต้องจดทะเบียนกับเลขาธิการอาเซียนและยื่นแบบฟอร์มเพื่อให้ได้รับรหัสเรื่องร้องเรียนที่เป็นความลับ (Confidential Case Code: CCC) จากเลขาธิการอาเซียน
4.4. คำกล่าวที่ว่า “การเป็นผู้ประกอบการอาเซียน (เช่น บริษัทหรือสมาคมการค้า) ที่จดทะเบียนตามกฎหมายของ 1 ในประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ” หมายความว่าอย่างไร?
หมายความว่า ผู้ประกอบการอาเซียนได้ดำเนินการตามกฎหมายของประเทศที่ดำเนินธุรกิจแล้วอย่างครบถ้วน และจดทะเบียนเป็นธุรกิจ หรือสมาคมการค้า/ หอการค้า/ สภาธุรกิจ/ สมาพันธ์ทางธุรกิจ ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายของประเทศในอาเซียนนั้นๆ ทั้งนี้ เกณฑ์ในลักษณะเดียวกันจะต้องใช้บังคับกับทนายความและสำนักงานกฎหมายที่ยื่นในนามของลูกความ โดยจะต้องแสดงการจดทะเบียนกับประเทศสมาชิกอาเซียนและใบอนุญาตทางวิชาชีพในเขตอำนาจของประเทศอาเซียนที่เกี่ยวข้อง.
4.5. หากผู้ร้องเรียนเป็นสำนักงานที่จดทะเบียนในอาเซียน (เช่น สำนักงานสาขาย่อย สำนักงานสาขา สำนักงานตัวแทน โรงงาน ศูนย์ตัวแทนจัดจำหน่าย ฯลฯ) หรือเป็นบรรษัทข้ามพรมแดนจากประเทศนอกกลุ่มอาเซียน สามารถที่จะยื่นข้อร้องเรียนโดยที่สำนักงานใหญ่นั้นตั้งอยู่ในประเทศนอกกลุ่มอาเซียนได้หรือไม่?
ไม่ได้ ข้อร้องเรียนจะต้องยื่นโดยผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจอยู่ในหนึ่งในประเทศอาเซียน อย่างไรก็ตาม สำนักงานใหญ่สามารถให้คำแนะนำหรือการสนับสนุนเชิงเทคนิคให้กับผู้ประกอบการอาเซียนภายหลังที่ได้มีการยื่นข้อร้องเรียนไปแล้วก็ได้
4.6. ข้อร้องเรียนสามารถยื่นโดยที่ปรึกษา ทนายความหรือผู้ให้คำแนะนำอันเป็นผู้แทนของผู้ประกอบการอาเซียนได้หรือไม่? หากกระทำได้ หมายเลขจดทะเบียนทางธุรกิจและหลักฐานการจดทะเบียนอะไรบ้างที่จำเป็นต้องใช้?
กระทำได้ ข้อร้องเรียนอาจยื่นโดยที่ปรึกษา ทนายความหรือผู้ให้คำแนะนำอันเป็นผู้แทนของผู้ประกอบการอาเซียนได้ แต่ในกรณีนี้จะต้องนำส่งหมายเลขจดทะเบียนธุรกิจและหลักฐานการจดทะเบียนที่ตนเองเป็นตัวแทนของผู้ประกอบการอาเซียน เพราะว่าข้อร้องเรียนดังกล่าวเป็นการยื่นของผู้ประกอบการอาเซียน ผู้ร้องเรียนอาจจะได้รับคำแนะนำและความช่วยเหลือในการยื่นข้อร้องเรียนโดย
ปักเจกบุคคลหรือองค์กรผู้แทนต่างๆ ที่ไม่ได้ทำงานให้กับผู้ประกอบการอาเซียนก็ได้ อย่างไรก็ตาม หากข้อร้องเรียนเป็นการยื่นแบบ
ไม่ระบุตัวตน หมายเลขจดทะเบียนธุรกิจ (ของสมาคมการค้า หอการค้า สภาธุรกิจ สมาพันธ์ทางธุรกิจ ฯลฯ) และหลักฐานการจดทะเบียน (ของทนายความและสำนักงานกฎหมาย) จะต้องเป็นขององค์กรผู้แทนที่ยื่นข้อร้องเรียนในนามของผู้ประกอบการอาเซียนและไม่ใช่เป็นของผู้ประกอบอารอาเซียนเอง
4.7. Can an individual person lodge a complaint on ASSIST?
ไม่ได้ ณ ขณะนี้ ระบบ ASSIST สามารถใช้ได้กับธุรกิจที่จดทะเบียนตามกฎหมาย (เช่น องค์กรผู้แทนทางกฎหมาย) เท่านั้น ไม่ใช่เพื่อปักเจกบุคคล (เช่น บุคคลธรรมดา) อย่างไรก็ตาม ทนายความที่เป็นบุคคลธรรมดาอาจจะยื่นข้อร้องเรียนแบบไม่ระบุตัวตนซึ่งกระทำในนามของลูกความ (เช่น ผู้ประกอบการอาเซียน) ตราบเท่าที่ดำเนินการตามข้อกำหนดทั้งหมดแล้วก็ได้
4.8. ผู้ร้องเรียนสามารถร้องเรียนแบบไม่ระบุตัวตนโดยไม่ต้องใช้ชื่อของบริษัทได้หรือไม่? หากกระทำได้ แนวทางนั้นต้องทำอย่างไร?
กระทำได้ ข้อร้องเรียนแบบไม่ระบุตัวตนจะยื่นเมื่อผู้ร้องเรียนประสงค์ที่จะไม่เปิดเผยอัตลักษณ์ของตนแก่หน่วยงานประสานในประเทศต้นทาง และหรือ หน่วยงานประสานในประเทศปลายทางไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม การจะยื่นข้อร้องเรียนแบบไม่ระบุตัวตนนั้น ผู้ร้องเรียนอาจจะใช้สมาคมการค้าหรือองค์กรผู้แทนในลักษณะเดียวกัน (เช่น หอการค้า สภาธุรกิจ สมาพันธ์ทางธุรกิจ ทนายความ หรือสำนักงานกฎหมาย) เพื่อยื่นข้อร้องเรียนในนามของตน สมาคมการค้าหรือองค์กรผู้แทนไม่จำเป็นจะต้องระบุชื่อของผู้ประกอบการอาเซียนที่ตนได้กระทำการในนามให้ และจะต้องยื่นข้อร้องเรียนโดยใช้หมายเลขจดทะเบียนธุรกิจ (เช่น หมายเลขจดทะเบียนธุรกิจในเขตอำนาจของประเทศอาเซียนนั้นๆ ที่ได้มีการดำเนินธุรกิจหรือใช้ใบอนุญาตของทนายความและสำนักงานกฎหมาย) ทนายความและสำนักงานกฎหมายจะต้องจดทะเบียนก่อนกับเลขาธิการอาเซียนและยื่นแบบฟอร์มเพื่อให้ได้รับรหัสเรื่องร้องเรียนที่เป็นความลับ (Confidential Case Code: CCC) เพื่อใช้ในการยื่นข้อร้องเรียนแบบไม่ระบุตัวตน แนวทางนี้มุ่งหมายที่จะใช้กับผู้ร้องเรียนหลายรายที่ประสบกับปัญหาทางการค้าแบบเดียวกันเพื่อหลีกเลี่ยงข้อร้องเรียนหลายฉบับอีกด้วย อย่างไรก็ตาม การดำเนินการดังกล่าวมีค่าใช้จ่ายเมื่อ
องค์กรผู้แทนได้ให้บริการกับผู้ประกอบการอาเซียนในกรณียื่นแบบไม่ระบุตัวตน
4.9. ทำไมและเมื่อใดที่ผู้ร้องเรียนหรือผู้ร้องเรียนหลายรายควรที่จะยื่นข้อร้องเรียนผ่านสมาคมการค้าอาเซียน หรือหอการค้า หรือสภาธุรกิจ หรือสมาพันธ์ทางธุรกิจที่จดทะเบียนตามกฎหมาย?
รูปแบบนี้อาจจะใช้หากจำนวนบริษัททั้งหลายมีปัญหาหรือประเด็นทางการค้าแบบเดียวกัน และตัดสินใจที่จะใช้สมาคมธุรกิจเพื่อเป็นตัวแทน (เช่น สมาคมการค้า หอการค้า สภาธุรกิจ สมาพันธ์ทางธุรกิจ ฯลฯ) ในการยื่นข้อร้องเรียนเพื่อแสวงหาทางออกให้กับกลุ่มบริษัทเหล่านี้ อีกกรณีหนึ่งอาจจะเป็นกรณีที่ผู้ประกอบการไม่ประสงค์ที่จะเปิดเผยความลับอันเนื่องมาจากความละเอียดอ่อนของเรื่อง และประสงค์ที่จะให้สมาคมธุรกิจเป็นผู้ยื่นให้แทนเพื่อรักษาความลับ โดยในกรณีหลัง ทนายความและสำนักงานกฎหมายที่จดทะเบียนและได้รับอนุญาตตามกฎหมายในอาเซียนก็สามารถที่ให้ยื่นแทนก็ได้ แต่จะต้องเข้าเงื่อนไขการจดทะเบียนกับเลขาธิการอาเซียนเสียก่อน
4.10. ผู้ร้องเรียนสามารถอัพโหลดเอกสาร (เช่น กฎหมายหมาย การโต้ตอบกับหน่วยงาน ใบอนุญาต หลักฐานทางภาพถ่าย เอกสารบันทึกทางกฎหมาย ฯลฯ) เมื่อต้องยื่นข้อร้องเรียนได้หรือไม่?
กระทำได้ ในรูปแบบใดๆ ก็ได้ ตราบเท่าที่เอกสารที่อัพโหลดนั้นไม่เกินความจุที่กำหนดซึ่งได้ระบุเอาไว้ในแบบฟอร์มข้อร้องเรียนออนไลน์ของระบบ ASSIST ในกรณียกเว้น ผู้ร้องเรียนอาจจะร้องขอให้ส่งข้อมูลเพิ่มเติมแก่ผู้ประสานงานกลางทางอีเมลล์ก็ได้
4.11. ร่างข้อร้องเรียนสามารถถูกบันทึกไว้ในระบบ ASSIST (เช่น แบบฟอร์มร้องเรียนออนไลน์) เพื่อดำเนินต่อให้แล้วเสร็จในภายหลังได้หรือไม่?
ไม่ได้ ผู้ร้องเรียนจะต้องทำในระบบออฟไลน์เพื่อจัดเตรียมข้อร้องเรียน แล้วจึงสำเนาและวางข้อมูลลงในแบบฟอร์มข้อร้องเรียนออนไลน์ ณ เวลาที่ยื่นข้อร้องเรียน
4.12. ข้อร้องเรียนเดียวสามารถที่จะร้องเรียนประเทศสมาชิกอาเซียนหลายรายหากว่าเป็นประเด็นปัญหาการค้าแบบเดียวกันซึ่งประสบอยู่ในหลายๆ ประเทศได้หรือไม่?
ไม่ได้ แต่ละข้อร้องเรียนจะเป็นการร้องเรียนต่อประเทศสมาชิกอาเซียนต่อรายเท่านั้น ผู้ร้องเรียนจะต้องยื่นข้อร้องเรียนหลายคราวหากว่าประสบกับปัญหาแบบเดียวกันมากกว่าหนึ่งประเทศ
4.13. ผู้ร้องเรียนจำเป็นต้องส่งสำเนาข้อร้องเรียนไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ในระบบ ASSIST หรือไม่?
ไม่จำเป็น การสื่อสารทั้งหมดกระทำผ่านระบบออนไลน์ของ ASSIST
4.14. ข้อร้องเรียนที่ถูกยื่นสามารถทำเป็นภาษาอื่นๆ นอกเหนือจากภาษาอังกฤษได้หรือไม่? หากกระทำไม่ได้ เช่นนั้นข้อมูลสนับสนุนเชิงข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย (เช่น หลักฐานการจดทะเบียนบริษัทหรือสำเนากฎหมายในประเทศ) สามารถนำส่งเป็นภาษาของผู้ร้องเรียนหรือประเทศที่กำลังประสบกับปัญหาทางการค้าได้หรือไม่?ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสื่อสารทางราชการภายในระบบ และข้อร้องเรียนจะต้องกระทำเป็นภาษาอังกฤษ เอกสารสนับสนุนทั้งหมดที่อัพโหลดโดยผู้ร้องเรียน (เช่น เอกสารสรุปเชิงกฎหมาย รายงานเชิงเทคนิค และเอกสารในลักษณะเดียวกัน) จะต้องกระทำเป็นภาษาอังกฤษ อย่างไรก็ตาม เอกสารทางราชการ เช่น หลักฐานการจดทะเบียน กฎหมายในประเทศ หนังสือรับรอง ใบอนุญาตหรือเอกสารในลักษณะเดียวกันซึ่งกระทำเป็นภาษาประจำชาติอาจจะอัพโหลดไว้ในระบบเพื่อสนับสนุนข้อร้องเรียน โดยจะต้องมีฉบับแปลแนบมาด้วยก็ได้ ข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาจากประเทศปลายทางจะต้องกระทำเป็นภาษาอังกฤษด้วยเช่นกัน
5. เมื่อยื่นข้อร้องเรียนแล้ว
5.1. ผู้ร้องเรียนควรทำอย่างไรหากว่าผู้ร้องเรียนทำรหัสติดตามข้อร้องเรียน และ/หรือ อีเมมล์ที่ใช้ยื่นข้อร้องเรียนสูญหายหรือลืม?
ผู้ร้องเรียนควรติดต่อหน่วยงานประสานของเลขาธิการอาเซียนตามที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ในระบบ ASSIST
5.2. จะเกิดอะไรขึ้นกับข้อร้องเรียนหากถูกปฏิเสธโดยผู้ประสานงานกลางหรือหน่วยงานประสานในประเทศปลา
เมื่อข้อร้องเรียนถูกปฏิเสธ กระบวนขั้นตอนนั้นถือว่าเสร็จสิ้นและข้อร้องเรียนเป็นอันตกไป อย่างไรก็ตาม ผู้ร้องเรียนอาจจะยื่นข้อร้องเรียนในระบบ ASSIST ใหม่ โดยเพิ่มหรือจัดหาข้อมูลใหม่เพื่อให้ข้อร้องเรียนนั้นมีความสมบูรณ์ หรือจะแสวงหาแนวทางอื่นเพื่อให้ได้ทางออกที่เหมาะสม รวมทั้งส่งต่อเรื่องไปยังกลไกการระงับข้อพิพาทอื่นๆ (โปรดดูข้อมูลที่กไหนดไว้ข้างล่างนี้ในหัวข้อ “เมื่อได้ให้ข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหา”)
5.3. ผู้ประสานงานกลางหรือหน่วยงานประสานในประเทศปลายทางสามารถเรียกให้ส่งข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้ร้องเรียน (ผู้ประกอบการอาเซียน) ได้หรือไม่?
สามารถกระทำได้ ผู้ประสานงานกลางสามารถส่งข้อร้องเรียนกลับมายังผู้ประกอบการโดยกดปุ่ม ‘ไม่สมบูรณ์’ ในระบบ ASSIST และเรียกให้ส่งข้อมูลเพิ่มเติม หน่วยงานประสานในประเทศปลายทางสามารถที่จะเรียกให้ผู้ประกอบการอาเซียนส่งข้อมูลเพิ่มเติมผ่านผู้ประสานงานกลางและจะต้องกระทำในรูปของออฟไลน์ (เช่น ผ่านอีเมลล์หรือโทรศัพท์) หน่วยงานประสานในประเทศปลายทางจะไม่สามารถติดต่อโดยตรงกับผู้ประกอบการอาเซียนได้
5.4. ผู้ร้องเรียนสามารถที่จะสมัครใจส่งข้อมูลเพิ่มเติมภายหลังที่ได้ยื่นข้อร้องเรียนไปแล้วได้หรือไม่? หากกระทำได้ จะต้องดำเนินการอย่างไร?
ไม่ได้ ผู้ร้องเรียนไม่สามารถส่งข้อมูลเพิ่มเติมภายหลังที่ได้มีการพิจารณาข้อร้องเรียนหรือถูกปฏิเสธโดยผู้ประสานงานกลางหรือประเทศปลายทางได้ ในการนี้ ผู้ร้องเรียนอาจจะเพิกถอนเรื่องร้องเรียนและยื่นเรื่องร้องเรียนใหม่พร้อมด้วยข้อมูลเพิ่มเติมแทน
5.5. ข้อร้องเรียนสามารถเพิกถอนเมื่อยื่นไปแล้วได้หรือไม่? หากกระทำได้ จะต้องดำเนินการอย่างไร?
สามารถกระทำได้ ผู้ร้องเรียนสามารถเพิกถอนข้อร้องเรียนในระหว่างการดำเนินการ ในการนี้ ผู้ร้องเรียนจะต้องเข้าไปในตัวแสดงผลของระบบ ASSIST เปิดเข้าไปที่ข้อร้องเรียนแล้วคลิกไปที่ปุ่ม ‘เพิกถอน’ ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดใน ของระบบ ASSIST จะได้รับแจ้งโดยอัตโนมัติเมื่อมีการเพิกถอนในของระบบ ASSIST
5.6 ผู้ประกอบการอาเซียนติดต่อโดยตรงกับหน่วยงานประสานในประเทศปลายทางหรือหน่วยงานรับผิดชอบ?
ไม่ได้ การติดต่อโดยตรงไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนใดๆ จะไม่สามารถกระทำได้
5.7 หน่วยงานประสานในประเทศปลายทางสามารถขอขยายระยะเวลาออกไปไม่เกิน 20 วันได้บ่อยแค่ไหน?
ทำได้เพียงครั้งเดียวในระบบออนไลน์
5.8 ผู้ร้องเรียนควรทำอย่างไรหากไม่ได้รับการติดต่อจากระบบ ASSIST ภายใน 30-50 วันทำการ (เช่น 6-10 สัปดาห์ปฏิทิน) นับจากวันที่หน่วยงานประสานในประเทศปลายทางรับข้อร้องเรียนไว้พิจารณา?ในกรณีนี้ ผู้ร้องเรียนอาจจะติดต่อผู้ประสานงานกลางในระบบ ASSIST ผ่านอีเมลล์ (โปรดดูเว็บไซต์ของระบบ ASSIST สำหรับรายละเอียดการติดต่อของหน่วยงานประสานระบบ ASSIST ของเลขาธิการอาเซียน) เพื่อสอบถามเกี่ยวกับสถานะของข้อร้องเรียน หรือติดต่อหน่วยงานประสานในประเทศต้นทางของตนเพื่อติดตามและสอบถามถึงเหตุล่าช้าแทนตนกับหน่วยงานประสานในประเทศปลายทางก็ได้
6. การให้แนวทางแก้ไขปัญหา
6.1 ผู้ร้องเรียนสามารถทำอะไรได้บ้างหากไม่ได้รับแนวทางแก้ไขปัญหาจากข้อร้องเรียน?
ในกรณีนี้ ผู้ร้องเรียนอาจจะติดต่อผู้ประสานงานกลางในระบบ ASSIST ผ่านอีเมลล์เพื่อสอบถามเกี่ยวกับสถานะของข้อร้องเรียน และติดต่อหน่วยงานประสานในประเทศต้นทางของตนเพื่ออำนวยความสะดวกในขั้นตอนต่างๆ ผู้ร้องเรียนอาจจะแสวงหาทางเลือกอื่นๆ รวมทั้งกลไกการระงับข้อพิพาท (เช่น กลไกระงับข้อพิพาทของอาเซียนผ่านหน่วยงานประสานในประเทศต้นทาง หรือการพิจารณาคดีในประเทศปลายทาง หรือการอนุญาโตตุลาการ หรือแม้กระทั่งกลไกระงับข้อพิพาทขององค์การการค้าโลกผ่านหน่วยงานประสานในประเทศต้นทางในฐานะที่เป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลกที่ขัดแย้งกับประเทศปลายทาง)
6.2 ผู้ร้องเรียนสามารถทำอะไรได้บ้างหากไม่พอใจกับแนวทางแก้ไขปัญหาจากข้อร้องเรียน?
ในกรณีนี้ ผู้ร้องเรียนอาจจะพิจารณายื่นข้อร้องเรียนใหม่ภายใต้ระบบ ASSIST พร้อมด้วยข้อมูลใหม่หรือข้อมูลเพิ่มเติม หรือแสวงหาทางเลือกอื่นๆ รวมทั้งกลไกการระงับข้อพิพาทตามที่ได้กล่าวมาแล้วในหัวข้อ 6.1
6.3. ผู้ร้องเรียนสามารถอุทธรณ์ในประเด็นที่ไม่ได้รับแนวทางแก้ไขปัญหาหรือไม่พอใจกับแนวทางแก้ไขปัญหาจากข้อร้องเรียนได้หรือไม่?
ไม่ได้ ระบบ ASSIST เป็นกลไกที่ไม่ผูกพันแบบสมัครใจ ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางกฎหมายที่ผู้ร้องเรียนจะสามารถอุทธรณ์มติของประเทศบาลได้
6.4. ผู้ร้องเรียนสามารถยื่นข้อร้องเรียนเดิมอีกครั้งได้หรือไม่หากไม่ได้รับแนวทางแก้ไขปัญหาไม่พอใจกับแนวทางแก้ไขปัญหาจากข้อร้องเรียน?
ในเชิงเทคนิคสามารถกระทำได้ แต่ไม่น่าจะเกิดผล อีกทั้งยังเป็นการเสียเวลาและทรัพยากร อย่างไรก็ตาม หากผู้ร้องเรียนประสงค์ที่จะกระทำ ผู้ร้องเรียนควรที่จะพิจารณาถึงการเรียบเรียงข้อร้องเรียน จัดหาหลักฐานข้อเท็จจริงเพิ่มขึ้น หรือข้อโต้แย้งทางกฎหมายเพื่อการพิจารณาของประเทศปลายทาง